ไข่เน่า หรือ ฝรั่งโคก หรือ ขี้เห็น หรือ คมขวาน
ชื่อวิทยาศาสตร์: Vitex
glabrata.
ลักษณะพรรณไม้ : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบชนิดหนึ่ง ขนาดใหญ่
เจริญเติบโตดีในพื้นที่แห้งแล้ง นิยมปลูกเป็นไม้ร่มเงาเพราะไม่ผลัดใบ
เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3-4 ปีหลังปลูก
ช่วงพักต้นหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตต้องการความแล้ง ช่วงออกดอกติดผลต้องการน้ำสม่ำเสมอ
ดอกติดผลปีละรุ่น ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศผสมตัวเองหรือต่างต้นต่างดอกได้
ออกดอกช่วงเดือน ม.ค.- ก.พ. ผลแก่เก็บเกี่ยวช่วงเดือน มิ.ย.- ก.ค.
ผลเมื่ออ่อนเป็นสีเขียวแต่เมื่อแก่จัดทั้งเปลือกผลและเนื้อเป็นสีดำ ผลเล็กเท่าไข่นกกระทา รสหวานเล็กน้อย กลิ่นเฉพาะตัวเหมือนกลิ่นไข่เน่า
โดยทั่วไปไม่นิยมรับประทานจึงทำให้ต้นไข่เน่าไม่ได้รับความสนใจปลูกเท่าที่ควร กินผลเป็นผลไม้สดหรือนำไปดองน้ำเกลือ
ทางยาสมุนไพร นิยมนำเอาเปลือกของต้นไข่เน่า ต้มรวมกับรากเต่าไห้ เป็นยารักษาโรคซางในเด็ก เป็นยาขับพยาธิ
![]() |
ดอกแคป่า (แคขาว
แคป่า แคนา)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dolichandrone
serrulata (DC.) Seem.
ลักษณะพรรณไม้
:
แคป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร
ใบประกอบแบบขนนก 3-4 คู่ ใบย่อยรูปไข่รี หรือเรียวแหลมยาว โคนเบี้ยว
ดอกคล้ายรูปแตร ปลายบาน 5 กลีบ ขอบใบหยัก
ไปมา ออกเป็นช่อตั้งที่ปลายยอด สีนวล
กลิ่นหอม ฝักกลมยาวประมาณ 15-40 ซม. ช่อละ 3-4 ฝัก เมล็ดมีปีก เกิดตามริมน้ำ ลำธาร
ป่าโปร่ง ท้องทุ่งนา ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ดอก กินเป็นผัก
ใช้ประกอบอาหารหรือลวกกินกับน้ำพริก ใบ ตำพอกบาดแผล ต้มเอาน้ำบ้วนปาก ดอก ขับเสมหะ
ขับลม เปลือก แก้ท้องเฟ้อ ใช้กับสตรีหลังคลอด เมล็ด แก้ปวดประสาท แก้โรคชัก ราก
แก้เสมหะและลม บำรุงโลหิต
โพธิ์ (โพศรีมหาโพ (ภาคกลาง), สสี
(ภาคเหนือ), ย่อง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน))
ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus
religiosa L.
ลักษณะพรรณไม้: ไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 20-30 ม. แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มตรง ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-3 ม. มียางสีขาว ใบ ใบเรียงเวียนสลับถี่ ใบเดี่ยว รูปหัวใจ กว้าง 8-15 ซม. ยาว 12-20 ซม. ปลายใบยาวคล้ายหาง โคนใบรูปหัวใจ ใบสีเขียวนวลอมเทา ก้านใบเล็กยาว 8-12 ซม. ส่วนยอดอ่อน เป็นสีครีมหรือสีงาช้างอมชมพู ดอก ดอกสีเหลืองนวล ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกแยกเพศขนาดเล็ก จำนวนมาก อยู่ภายในฐานรองดอก รูปคล้ายผล ผล ผลรวมรูปกลม ขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 ซม. เมื่อสุกสีม่วงดำ
ลักษณะพรรณไม้: ไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 20-30 ม. แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มตรง ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-3 ม. มียางสีขาว ใบ ใบเรียงเวียนสลับถี่ ใบเดี่ยว รูปหัวใจ กว้าง 8-15 ซม. ยาว 12-20 ซม. ปลายใบยาวคล้ายหาง โคนใบรูปหัวใจ ใบสีเขียวนวลอมเทา ก้านใบเล็กยาว 8-12 ซม. ส่วนยอดอ่อน เป็นสีครีมหรือสีงาช้างอมชมพู ดอก ดอกสีเหลืองนวล ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกแยกเพศขนาดเล็ก จำนวนมาก อยู่ภายในฐานรองดอก รูปคล้ายผล ผล ผลรวมรูปกลม ขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 ซม. เมื่อสุกสีม่วงดำ
ยอป่า
(คุย (พิษณุโลก),
อุ้มลูกดูหนัง (สระบุรี), สลักป่า สลักหลวง
(เหนือ), กะมูดู (มลายู), คุ
(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี))
ชื่อวิทยาศาสตร์: Morinda coreia Buch.-Ham.
ลักษณะพรรณไม้ : ต้นยอป่า จัดเป็นไม้ยืนต้น
มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร และอาจสูงได้ถึง 15 เมตร ลำต้นตั้งตรง เรือนยอดเป็นพุ่มรี กิ่งก้านมักคดงอและหักง่าย
ตามผิวกิ่งมีปุ่มปมมาก ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา เปลือกหนาแตกเป็นร่องตามยาวและแนวขนาน
หรือแตกเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ช่อดอกและใบจะออกหนาแน่นรวมกันอยู่ที่ปลายกิ่ง
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด หรือวิธีการปักชำกล้า พบขึ้นได้ตามป่าเต็งรัง
และป่าเบญจพรรณทั่วไป
ใบยอป่า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตัวแบบตรงข้ามสลับกับตั้งฉาก
ใบมักออกรวมกันที่ปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือแหลม
โคนใบแหลมหรือเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบและเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-17 เซนติเมตร
หลังใบเป็นสีเขียวมัน ส่วนท้องใบมีสีอ่อนกว่า ใบแก่จะบางและเหนียว
ผิวใบด้านบนมีขนสากขึ้นประปราย ส่วนด้านล่างมีขนนุ่ม
มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบหลุดร่วงง่าย ดอกยอป่า ออกดอกเป็นช่อ
โดยจะออกรวมกันเป็นกลุ่มตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง ดอกมีกลิ่นหอมแบบอ่อน ๆ
กลีบดอกหนาและเป็นสีขาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ๆ ปลายเป็นกลีบแหลม
แยกเป็นกลีบ 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม
เมื่อดอกบานจะแผ่กว้างออก เมื่อดอกมีขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตร
ส่วนหลอดกลีบเลี้ยงด้านบนแบนเป็นสีเขียวอมเหลือง
เชื่อมติดกับกลีบดอกข้างเคียงที่ฐาน ดอกมีเกสรเพศผู้สั้น 5 อัน
ชูพ้นออกมาจากหลอดกลีบดอก ส่วนเกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 2 แฉก
โดยจะออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม ผลยอป่า ผลเป็นผลรวมรูปร่างค่อนข้างกลม
ผลอ่อนเป็นสีเขียว เนื้อในผลอ่อนนุ่ม ฉ่ำน้ำ และเป็นสีขาว ส่วนผลแก่เป็นสีดำ
ภายในผลมีเมล็ดมาก เมล็ดเป็นสีน้ำตาล โดยมีเมล็ดแบน 1 เมล็ด
ต่อหนึ่งผลย่อย โดยจะออกผลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม
เต็ง (แงะ
(เหนือ) จิก (อีสาน) ชันตก (ตราด) เต็งขาว (ขอนแก่น) เน่าใน (แม่ฮ่องสอน) )
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea obtusa
Wall. ex Blume
ลักษณะพรรณไม้
:
ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
สูง 10-25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง ลำต้นเปลาตรงหรือคดงอ ใบเดี่ยว
เรียงสลับ ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ขนาดของใบ ใบบิดขี้นลง เนื้อใบหนา
สีเขียวอมเหลือง ใบอ่อนมีขนประปราย ใบแก่เกลี้ยง โคนใบทู่หรือมน ปลายใบมนหรือแหลม
ก้านใบมักคดงอ ใบแก่ก่อนร่วงสีเหลือง ส้ม แดง ดอกเป็นช่อแยกแขนง
ดอกขนาดเล็ก ออกตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง ช่อดอกมีขนนุ่ม กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวแกมเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม โคนกลีบซ้อนทับกัน
ปลายกลีบแยกกันและจีบเวียนตามกันเป็นรูปกังหันกลีบเลี้ยง 5
กลีบ โคนเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรเพศผู้ ขนาดเล็ก
จำนวนมาก อยู่รอบเกสรเพศเมีย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ยอดเกสรเพศเมียเป็น 3 พู ผลรูปไข่ ปีกรูปใบหอกกลับ ปีกยาว 3 ปีก
ปีกสั้น 2 ปีก เมล็ดมี 1 เมล็ด เปลือกนอกสีน้ำตาลปนเทา
แตกเป็นสะเก็ด
รัง (เปา เปาดอกแดง (ภาคเหนือ), รัง
(ภาคกลาง), เรียง เรียงพนม (เขมร-สุรินทร์), ลักป้าว (ละว้า-เชียงใหม่), ฮัง
(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ))
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Shorea siamensis Miq.
ลักษณะพรรณไม้ :
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–20
เมตร เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่องตามความยาวลำต้น
ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ ปลายใบมน โคนใบหยักเว้า
ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อ กลิ่นหอมอ่อน การใช้ประโยชน์ ขณะเป็นน้ำนำมาผสมกับน้ำมันยางชโลมตะกร้าไม้ไผ่อุดรอยรั่วเมื่อแห้งนำไปตัก
น้ำได้ใบของรังเมื่อผุทับถมกันนาน ๆ
ถึงฤดูฝนก็จะเป็นเชื้อเห็ดป่าที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้ เปลือกสดเป็นยาสมุนไพร
แก้อาการปวดท้อ ท้องร่วงเฉียบพลับ
ท้องอืดท้องเฟ้อใช้เป็นยาระบายขับลมเปลือกแห้งทำเป็นเชื้อเพลิงได้ ควัน ระคายเคืองดวงตา
ต้นแดง
(จะลาน จาลาน ตะกร้อม สะกรอม (จันทบุรี), เพ้ย
(ตาก), ปราน (สุรินทร์), ไปร
(ศรีษะเกษ), กร้อม (นครราชสีมา), ผ้าน
(เชียงใหม่), คว้าย (เชียงใหม่, กาญจนบุรี),
ไคว เพร่ (แพร่, แม่ฮ่องสอน), เพ้ย (กะเหรี่ยง-ตาก))
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Xylia xylocarpa
(Roxb.) Taub.
ลักษณะทางพรรณไม้ : ต้นแดง จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
มีความสูงของต้นได้ถึง 25 เมตร และบางครั้งอาจสูงได้ถึง 30-37
เมตร ลำต้นแดงค่อนข้างเปลาตรง หรือเป็นปุ่มปน
ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดรูปทรงกลม หรือเก้งก้างไม่ค่อยแน่นอน มีสีเขียวอมแดง
เปลือกต้นเรียบสีเทาอมแดง มีตกสะเก็ดออกเป็นแผ่นกลมบาง ๆ รอบลำต้น
และเมื่อสับเปลือกทิ้งไว้จะได้ชันที่มีสีแดง ส่วนยอดอ่อนมีขนสีเหลืองปกคลุมอยู่ ไม้แดง มีเนื้อไม้มีสีแดงเรื่อ ๆ หรือเป็นสีน้ำตาลอมแดง
มีเสี้ยนเป็นลูกคลื่นหรือมักสน เนื้อไม้ละเอียดพอประมาณ มีความแข็งแรง
เหนียวและทนทานมาก สามารถเลื่อยไสกบ ตบแต่งได้เรียบร้อย ขัดชักเงาได้ดี
โดยมีความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.18 และเนื้อไม้มีความแข็งประมาณ
1,030 กิโลกรัม มีความทนทานตามธรรมชาติตั้งแต่ 10-18 ปี ส่วนการอาบน้ำยาไม้ทำได้ยาก (ชั้นสี่) ใบต้นแดง ออกเป็นช่อแบบขนนกสองชั้น ช่อใบยาวประมาณ 10-22 เซนติเมตร
ส่วนก้านใบยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร
ในแต่ละช่อใบจะมีใบย่อยประมาณ 4-5 คู่
ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน
แผ่นใบมักเบี้ยวและมีขนาดไม่เท่ากัน มีความกว้างประมาณ 3-7 เซนติเมตร
และยาวประมาณ 7-20 เซนติเมตร ปลายใบแหลมมน ส่วนฐานใบมักเบี้ยว
ใบแก่จะไม่มีขนปกคลุม หรืออาจมีบ้างประปรายด้านท้องใบเล็กน้อย
ส่วนก้านใบย่อยจะยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร ดอกต้นแดง ดอกมีสีเหลืองขนาดเล็ก
มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ขึ้นอัดกันแน่นเป็นช่อกลมเดี่ยว ๆ หรือแตกกิ่งก้าน
หรือขึ้นเป็นกลุ่ม ในแต่ละช่อดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.4 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อดอกยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร
มีขนขึ้นปกคลุมประปราย ส่วนกลีบรองกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง
ตรงปลายแยกออกเป็นกลีบ 5 กลีบ มีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุม
กลีบดอก 5 กลีบ ติดกันเล็กน้อยที่บริเวณฐาน และมีเกสรตัวผู้ 10
อัน แยกออกจากกันอย่างอิสระยื่นยาวออกมานอกดอก
โดยดอกต้นแดงนี้จะออกดอกพร้อมกับใบอ่อนในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์
และอาจถึงเดือนมีนาคม ผลต้นแดง หรือ ฝักต้นแดง ผลมีลักษณะเป็นฝักแบนแข็ง ลักษณะเป็นรูปขอบขนานเรียวและโค้งงอที่ส่วนปลาย
ฝักมีความยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ผิวฝักเรียบมีสีน้ำตาลอมเทา
ไม่มีขนขึ้นปกคลุมและไม่มีก้าน เมื่อฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก
และเปลือกของฝักที่แตกมักจะม้วนบิดงอ ในหนึ่งฝักจะมีเมล็ดจำนวนหลายเมล็ด ประมาณ 6-10
เมล็ด โดยฝักจะแก่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม
มะค่าแต้ (มะค่าหยุม มะค่าหนาม (ภาคเหนือ), แต้ (ภาคอีสาน), มะค่าหนาม
มะค่าแต้ มะค่าลิง (ภาคกลาง), กอกก้อ (ชาวบน-นครราชสีมา),
กอเก๊าะ ก้าเกาะ (เขมร-สุรินทร์), กรอก๊อส
(เขมร-พระตะบอง), แต้หนาม)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sindora siamensis Miq.
ลักษณะพรรณไม้
: ต้นมะค่าแต้ มีเขตการกระจายพันธุ์จากภูมิภาคอินโดจีนจนถึงมาเลเซีย
ในประเทศไทยสามารถพบได้ตามป่าป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าโคกข่าว ป่าผลัดใบ
ป่าดิบแล้ง และป่าชายหากที่ระดับใกล้กับน้ำทะเลไปจนถึงที่ระดับความสูง 400 เมตร โดยจัดเป็นไม้ยืนต้น
มีความสูงของต้นประมาณ 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง
มีเรือนยอดเป็นรูปร่มหรือเป็นทรงเจดีย์ต่ำ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาล
เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทาคล้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง ใบมะค่าแต้ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 3-4 ใบ แกนช่อใบยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร
ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบเว้าตื้น โคนใบเป็นรูปลิ่ม
ส่วนขอบใบเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตร
และยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร แผ่นใบหนา แผ่นใบด้านบนมีขนหยาบ
ส่วนด้านท้องใบมีขนนุ่ม ดอกมะค่าแต้ ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบหรือตามปลายกิ่ง
ช่อดอกยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลืองแกมเขียว
มีกลีบเลี้ยงหนา 4 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กว้าง
ปลายกลีบมีหนามขนาดเล็ก ส่วนกลีบดอกยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร
ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน และมี 2 อันใหญ่กว่าอันอื่น
ๆ ด้านนอกดอกมีขนสีน้ำตาล ก้านดอกยาวประมาณ 0.2-0.4 เซนติเมตร
โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ผลมะค่าแต้ ออกผลเป็นฝักเดี่ยวแบนค่อนข้างกลม ที่ผิวเปลือกมีหนามแหลมอยู่ทั่วไป
ผลเป็นรูปไข่กว้างหรือเป็นรูปโล่ โคนเบี้ยวและมักมีติ่งแหลม
มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.5-10 เซนติเมตร
พอแห้งจะแจกออกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดสีดำประมาณ 1-3
เมล็ด โดยผลจะแก่ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน
ประดู่บ้าน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus
indicus Willd .
ลักษณะพรรณไม้ : เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 8-15 เมตร หรืออาจจะสูงกว่านี้ก็ได้ เรือนยอดแผ่กว้าง กิ่งก้านอ่อนย้วยลง จึงนิยมเรียกชื่อตามลักษณะของทรงพุ่มว่า ประดู่กิ่งอ่อน เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำคล้ำ และจะแตกสะเก็ดออกเป็นร่องตื้นๆ
ใบ เป็นไม้ที่ออกใบรวมกันเป็นช่อ เป็นใบประกอบแบบขนนก ช่อหนึ่งจะมีใบย่อยประมาณ 5-11 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลมเรียงสลับกัน โคนใบกว้าง มนกลม และเรียวไปทางปลายใบ ริมขอบใบเรียบไม่มีหยัก รูปขอบขนานแกมรูปไข่ เกลี้ยง ใบมีขนาดยาวประมาณ 1.5-2 นิ้ว ใบมีสีเขียว ผลัดใบในฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธุ์ ออกเป็นช่อ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง หรือโคนก้านใบหลังจากแตกใบใหม่แล้ว ช่อดอกมีขนาดใหญ่ กลีบรองกลีบดอกสีเขียว กลีบดอกสีเหลืองแต่ขนาดดอกจะเล็ก ลักษณะดอกคล้ายดอกถั่ว ขนาดประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกมีกลิ่น ผล กลมและแบน มีปีกบางๆโดยรอบ ผลแก่มีสีน้ำตาล ผลแก่ไม่แตก มีเมล็ดตรงกลางผล 1 เมล็ด ผลแก่ประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน
ลักษณะพรรณไม้ : เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 8-15 เมตร หรืออาจจะสูงกว่านี้ก็ได้ เรือนยอดแผ่กว้าง กิ่งก้านอ่อนย้วยลง จึงนิยมเรียกชื่อตามลักษณะของทรงพุ่มว่า ประดู่กิ่งอ่อน เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำคล้ำ และจะแตกสะเก็ดออกเป็นร่องตื้นๆ
ใบ เป็นไม้ที่ออกใบรวมกันเป็นช่อ เป็นใบประกอบแบบขนนก ช่อหนึ่งจะมีใบย่อยประมาณ 5-11 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลมเรียงสลับกัน โคนใบกว้าง มนกลม และเรียวไปทางปลายใบ ริมขอบใบเรียบไม่มีหยัก รูปขอบขนานแกมรูปไข่ เกลี้ยง ใบมีขนาดยาวประมาณ 1.5-2 นิ้ว ใบมีสีเขียว ผลัดใบในฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธุ์ ออกเป็นช่อ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง หรือโคนก้านใบหลังจากแตกใบใหม่แล้ว ช่อดอกมีขนาดใหญ่ กลีบรองกลีบดอกสีเขียว กลีบดอกสีเหลืองแต่ขนาดดอกจะเล็ก ลักษณะดอกคล้ายดอกถั่ว ขนาดประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกมีกลิ่น ผล กลมและแบน มีปีกบางๆโดยรอบ ผลแก่มีสีน้ำตาล ผลแก่ไม่แตก มีเมล็ดตรงกลางผล 1 เมล็ด ผลแก่ประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน
ปีบทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Mayodendron
igneum (Kurz) Kurz
สมุนไพรปีบทอง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า จางจืด (เชียงใหม่), กาซะลองคำ กาสะลองคำ แคชาญชัย (เชียงราย),
แคเป๊าะ สำเภาหลามต้น (ลำปาง), กากี
(สุราษฎร์ธานี), สะเภา สำเภา อ้อยช้าง (ภาคเหนือ), ปีบทอง(ภาคกลาง), ปั้งอ๊ะมี (ม้ง), เดี้ยงด่งเบี้ยง
(เมี่ยน), กาสะลอง (ทั่วไป) เป็นต้น.
ลักษณะพรรณไม้ : ต้นปีบทอง หรือ ต้นกาซะลองคำ มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่ในประเทศจีนตอนใต้
พม่า ลาว และเวียดนาม
ส่วนในประเทศไทยพบได้ตั้งแต่ทางภาคใต้ในแถบจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพชรบุรี อุทัยธานี
ขึ้นไปถึงทางภาคเหนือของประเทศ จัดเป็นไม้ยืนต้นเล็กถึงขนาดกลาง
และเป็นไม้ผลัดใบแต่จะผลัดไม่พร้อมกัน มีความสูงของต้นประมาณ 6-20 เมตร ต้นมีเรือนยอดเป็นรูปใบหอกหรือไข่ ทรงพุ่มแน่นทึบ
กิ่งก้านแผ่ออกเป็นชั้น ๆ ออกกว้าง ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง
ตามกิ่งก้านและตามลำต้นจะมีรูระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป
เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นลายประสานกันคล้ายตาข่าย เปลือกต้นขรุขระเป็นเม็ดเล็ก
ๆ กระตายอยู่ทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง
และการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย สามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณ
ตามชายดิบแล้งตามเชิงเขา และตามเขาหินปูน ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000
เมตร
ตะโก
(ตะโกนา,
โก, นมงัว, มะโก,
มะถ่าน, ไฟผี, พระยาช้างดำ)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Diospyios
rhodcalyx
ลักษณะพรรณไม้ : ต้น เป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 15 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็งและเหนียว อายุยืนยาว ลำต้นมีเปลือกหุ้มสีดำแตกเป็นสะเก็ดหนาๆ ใบ เดี่ยวเรียงสลับกันรูปไข่ หรือรูปป้อมๆ โคนใบสอบเป็นรูปลิ่ม ป้อมหรือป้าน ปลายใบโค้งมน ป้าน เว้าเข้า หรือหยักคอดเป็นติ่งสั้นๆ ผิวเกลี้ยงเขียวสด ใบดกและหนาทึบ ดอก ออกตามง่ามใบ ก้านดอกยาว 1–3 มม. มีขนนุ่ม ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อๆ ละประมาณ 3 ดอก ดอกเพศเมียออกดอกเดี่ยวๆ ฝัก/ผล กลมเมื่ออ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง โคนและปลายผลมักบุ๋ม มียางมาก เปลือก ต้น และแก่น บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ต้มกับเกลือ อมรักษารำมะนาด ผลแก้ท้องร่วง คลื่นไส้ ท้องเสีย แก้อาการบวม ขับพยาธิ แก้กษัย แก้ฝีเน่าเปลือกผล เผาเป็นถ่าน ขับปัสสาวะ เมล็ด รสฝาดเฝื่อน แก้บิด แก้ท้องร่วง
ลักษณะพรรณไม้ : ต้น เป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 15 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็งและเหนียว อายุยืนยาว ลำต้นมีเปลือกหุ้มสีดำแตกเป็นสะเก็ดหนาๆ ใบ เดี่ยวเรียงสลับกันรูปไข่ หรือรูปป้อมๆ โคนใบสอบเป็นรูปลิ่ม ป้อมหรือป้าน ปลายใบโค้งมน ป้าน เว้าเข้า หรือหยักคอดเป็นติ่งสั้นๆ ผิวเกลี้ยงเขียวสด ใบดกและหนาทึบ ดอก ออกตามง่ามใบ ก้านดอกยาว 1–3 มม. มีขนนุ่ม ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อๆ ละประมาณ 3 ดอก ดอกเพศเมียออกดอกเดี่ยวๆ ฝัก/ผล กลมเมื่ออ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง โคนและปลายผลมักบุ๋ม มียางมาก เปลือก ต้น และแก่น บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ต้มกับเกลือ อมรักษารำมะนาด ผลแก้ท้องร่วง คลื่นไส้ ท้องเสีย แก้อาการบวม ขับพยาธิ แก้กษัย แก้ฝีเน่าเปลือกผล เผาเป็นถ่าน ขับปัสสาวะ เมล็ด รสฝาดเฝื่อน แก้บิด แก้ท้องร่วง
สักขี้ไก่ (กะเบียด (ประจวบคีรีขันธ์) ปอฟาน (ลำปาง) สักขี้ควาย สักผู้ (ภาคเหนือ) สามป้าง สามป้าว (จันทบุรี))
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Premna tomentosa Willd.
สักขี้ไก่เป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15–20 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูง ถึงค่อนข้างกลม ลำต้นมักคดงอ เปลือกสีเหลืองแกมเทา ค่อนข้างเรียบ กิ่งเป็นเหลี่ยมสี่มุม กิ่งอ่อนมีขนรูปดาวสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 8–9 ซม. ยาว 21–30 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้า หรือมนกลม ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบด้านบนมีขนตามเส้นกลางใบ ด้านล่างมีขนรูปดาวหนาแน่น เส้นแขนงใบ 6–10 คู่ ระหว่างเส้นใบมีเส้นขั้นบันไดชัดเจน ก้านใบยาว 1.5–11 ซม. ดอก เล็ก สีขาว ออกเป็นช่อแยกแขนงตามปลายกิ่งและตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ผล ค่อนข้างกลม เปลือกแข็งมีขนปกคลุมหนาแน่น เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7–0.8 ซม. หุ้มด้วยกลีบเลี้ยงรูปคล้ายถุง ผลแก่สีดำ สักขี้ไก่มีเขตการกระจายพันธุ์ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ศรีลังกา เนปาล พม่า อินโดจีน มลายู ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เนื้อไม้แข็งปานกลาง เหมาะสำหรับงานแกะสลัก เฟอร์นิเจอร์ กระสวยทอผ้า ก่อสร้าง และทำเชื้อเพลิง รากต้มกินแก้ปวดท้อง
แจง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Maerua siamensis
(Kurz) Pax
ลักษณะพรรณไม้ : ต้นแจง หรือ ต้นแกง มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย
มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย กัมพูชา และเวียดนาม
โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ พบได้บ้างที่เป็นไม้พุ่มเตี้ย ๆ
เป็นพรรณไม้โตช้า มีความสูงของต้นได้ประมาณ 5-10 เมตร
แตกกิ่งแขนงมากมายคล้ายกับไม้พุ่ม กิ่งก้านแตกออกแผ่เป็นรูปร่ม
เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวเข้มจนเกือบดำ เปลือกเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการตอนกิ่ง สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด
พบขึ้นได้ในป่าละเมาะ ป่าดิบแล้ง ป่าผสมผลัดใบ ป่าเต็งรังแล้ง ป่าโปร่งแห้ง
เขาหินปูน ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 0-400 เมตร
โดยจะพบได้มากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใบแจง มีใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ
ออกสลับกัน มีใบย่อย 3 ใบ (บางครั้งอาจพบว่ามี 4-5 ใบ แต่พบได้น้อย) ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ รูปขอบขนาน หรือรูปแถบ
ปลายใบสอบเรียว หรือกลม หรือเว้าตื้นเล็ก ๆ มีหนามแหลมสั้น ๆ โคนใบสอบ
เป็นรูปลิ่มหรือมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร
และยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร แผ่นใบหนาและเกลี้ยงทั้งสองด้าน
(บ้างว่าบางคล้ายแผ่นกระดาษ) แผ่นใบแตกแขนงมาก ก้านช่อใบยาวประมาณ 1.5-6.5 เซนติเมตร ส่วนก้านใบย่อยสั้นจนเกือบไม่มี ดอกแจง ออกดอกเป็นข่อเชิงหลั่นหรือช่อกระจะ
รวมเป็นช่อแยกแขนง โดยออกเป็นช่อตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง
ดอกย่อยเป็นสีเขียวอมสีขาว ดอกไม่มีกลีบดอก มีแต่มีกลีบเลี้ยงดอก 4 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 0.2-0.3
เซนติเมตร และยาวประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร
ปลายแหลม ส่วนขอบมีขนคล้ายกับเส้นไหม เมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2
เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 9-12 อัน ก้านเกสรยาวประมาณ
10-15 มิลลิเมตร ติดทน มีอับเรณูลักษณะเป็นรูปขอบขนาน
ยาวประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร ปลายอับเรณูเป็นติ่ง
ส่วนก้านเกสรเพศเมียเกลี้ยง ยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร
ผิวเกลี้ยง มีรังไข่เป็นรูปทรงกระบอกเกลี้ยง
โดยจะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม ผลแจง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมรี หรือรูปกระสวย ผลมีขนาดกว้างประมาณ 1.3-1.5
เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร
พยอม (กะยอม
ขะยอม พะยอมแดง แคน พะยอมทอง ยางหยวก)
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Shorea roxburghii G.Don
ลักษณะพรรณไม้ :
ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15
– 30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม กลม เปลือกหนา สีน้ำตาลหรือเทา
แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น ใบ เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน กว้าง 3 – 4 เซนติเมตร ยาว 8 – 10 เซนติเมตร โคนมน ปลายมน
หรือหยักเป็นติ่งสั้น ๆ ดอก สีขาว กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล มีปีกยาว 3
ปีก ปีกสั้น 2 ปีก
สรรพคุณ :
ดอก -
ผสมยาแก้ไข้ และยาหอม แก้ลม บำรุงหัวใจ
เปลือกต้น -
สมานลำไส้ แก้ท้องเดิน มี Tannin
มาก
ตะคร้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garuga pinnata Roxb.
มีชื่อท้องถิ่นอื่น
ๆ ว่า อ้อยน้ำ (จันทบุรี),
กะตีบ แขกเต้า ค้ำ หวีด (ภาคเหนือ), คร้ำ ตำคร้ำ
(ไทย), เก๊าค้ำ ไม้หวิด ไม้ค้ำ (คนเมือง), ไม้ค้ำ (ไทใหญ่), ปีซะออง ปิชะยอง
(กะเหรี่ยง-จันทบุรี), กระโหม๊ะ (ขมุ), ลำคร้ำ ลำเมาะ (ลั้วะ), เจี้ยนต้องแหงง (เมี่ยน)
เป็นต้น
ลักษณะพรรณไม้ : ต้นตะคร้ำ
จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง ลำต้นเปลาตรง มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เมตร
เมื่อโตวัดรอบ 100-200 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขารอบ ๆ เรือนยอดของต้น
โคนต้นเป็นพูพอน ตามกิ่งอ่อนและก้านช่อดอกมีขนสีเทาขึ้นปกคลุมกระจายอยู่ทั่วไป
และมีรอยแผลใบปรากฏอยู่ตามกิ่ง
เปลือกต้นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลปนเทาแตกเป็นสะเก็ดหรือเป็นหลุมตื้น ๆ ทั่วไป
ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีนวล มีทางสีชมพูสลับ และมียางสีชมพูปนแดงไหลออกเมื่อสับดู
โดยยางนี้หากทิ้งไว้นาน ๆ จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองคล้ำ ส่วนกระพี้จะเป็นสีชมพูอ่อน ๆ
และมีแก่นเป็นสีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง ในประเทศไทยพบขึ้นตามที่ราบตามป่าโปร่ง
ป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้งในที่ค่อนข้างราบและใกล้ลำห้วยทั่วไป ป่าดิบเขา
และตามป่าเบญจพรรณชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 50-800 เมตร
ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่ประเทศอินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สำโรง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bastard poon, Pinari
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า จำมะโฮง (เชียงใหม่), มะโรง มะโหรง (ปัตตานี), โหมโรง (ภาคใต้) เป็นต้น
ลักษณะพรรณไม้ : ต้นสำโรง
จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ผลัดใบ ที่มีความสูงของต้นประมาณ 15-20 เมตร
และอาจสูงได้ถึง 30 เมตร ลำต้นเปลาตรงและสูงชะลูด เรือนยอดเป็นรูไข่ถึงทรงกระบอก
ทรงพุ่มโปร่งไม่ทึบ กิ่งก้านแตกแขนงในลักษณะตั้งฉากกับลำต้นและแผ่กว้างออกไปรอบ ๆ
ต้น และการแตกกิ่งก้านจะออกเป็นระยะ ๆ ทำให้เห็นทรงพุ่มเป็นชั้น ๆ ดูคล้ายฉัตร
และในแต่ละชั้นจะมีระยะห่างใกล้เคียงกัน และจะแตกกิ่งก้านที่ระดับความสูงตั้งแต่
8-10 เมตร เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบและค่อนข้างหนาและเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลปนเทา
ปรากฏร่องรอยแผลเป็นของก้านใบที่หลุดลอกรอบต้นอย่างชัดเจน
และมีลักษณะเป็นเส้นใยหยาบ ๆ สีน้ำตาล ส่วนโคนต้นแก่แตกเป็นพูพอนเล็กน้อย
เนื้อไม้หยาบและเป็นไม้เนื้ออ่อนค่อนข้างเหนียว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ในประเทศไทยพบต้นสำโรงกระจายพันธุ์อยู่ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง
และตามป่าโปร่งทั่วไป ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-600 เมตร
มะหาด
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Artocarpus lacucha Buch.-Ham.
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ปวกหาด (เชียงใหม่), มะหาดใบใหญ่ (ตรัง), หาดขนุน (ภาคเหนือ), ฮัด (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), หาด (ทั่วไป-ภาคกลาง),
เซยาสู้ (กะเหรี่ยง-กำแพง), กาแย ตาแป ตาแปง
(มลายู-นราธิวาส), ขนุนป่า เป็นต้น
ลักษณะพรรณไม้: ต้นมะหาด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ
ที่มีความสูงของต้นประมาณ 15-20 เมตร และอาจสูงได้ถึง 30 เมตร
ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง ทรงพุ่มกลมหรือแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเป็นสีดำ สีเทาแกมน้ำตาล
หรือสีน้ำตาลอมแดงถึงน้ำตาลเข้ม ต้นแก่ผิวเปลือกจะค่อนข้างหยาบ
ขรุขระและแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ บริเวณเปลือกของลำต้นมักมีรอยแตกและมียางไหลซึมออกมา
แห้งติด ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนปกคลุม
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการตอนกิ่ง
เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกประเภท (แม้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย)
ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง พรรณไม้ชนิดนี้มักพบขึ้นทั่วไปในที่กึ่งโล่งแจ้งตามป่าดงดิบ
ปาเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าคืนสภาพ ป่าหินปูน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ
100-1,800 เมตร ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้
และทางภาคใต้ของประเทศไทย
ตะคร้อ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schleichera oleosa
(Lour.) Merr.
มีชื่อท้องถิ่นอื่น
ๆ ว่า กาซ้อง คอส้ม (เลย),
เคาะ (นครพนม, พิษณุโลก), ค้อ (กาญจนบุรี), เคาะจ้ก มะเคาะ มะจ้ก มะโจ้ก
(ภาคเหนือ), ตะคร้อไข่ (ภาคกลาง), ซะอู่เสก
(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กาซ้อ คุ้ย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี),
ปั้นรั้ว (เขมร-สุรินทร์), ปั้นโรง
(เขมร-บุรีรัมย์), บักค้อ ตะค้อ หมากค้อ เป็นต้น
ลักษณะพรรณไม้ : ต้นตะคร้อ มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคกลาง และทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย
ในต่างประเทศสามารถพบได้ที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา ภูมิภาคอินโดจีน
และอินโดนีเซีย[3] โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เมตร
แตกกิ่งก้านต่ำ เรือนยอดมีลักษณะเป็นทรงพุ่มแผ่กว้าง กิ่งก้านมักคดงอ
ลำต้นเป็นปุ่มปมและพูพอนเปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเป็นสีน้ำตาลเทา
เปลือกแตกเป็นสะเก็ดหนาขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดโดยสามารถพบได้ตามป่าผลัดใบ
ป่าดิบเขา และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ที่ระดับความสูงถึง 1,200
เมตร
ข่อย
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Streblus asper Lour.
ชื่ออื่น
: ตองขะแหน่ (กาญจนบุรี) กักไม้ฝอย
(ภาคเหนือ) ส้มพอ (เลย)
ลักษณะพรรณไม้ :
ไม้ต้น แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ กิ่งก้านคดงอ เปลือกต้นบาง ขรุขระเล็กน้อย
สีเทาอมเขียว มียางสีขาวข้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียน รูปรี กว้าง 2-4 ซม.
ยาว 4-8 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียว สากมือ
เนื้อใบหนาค่อนข้างกรอบ ดอก ออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบ ดอกย่อยเล็กมาก ดอกแยกเพศ
ดอกเพศผู้รวมกันเป็นช่อกลม ก้านดอกสั้น ดอกเพศเมียช่อหนึ่งมีดอกย่อย 2 ดอก
ก้านดอกยาว ผล รูปทรงกลม ผลมีเนื้อ ผนังผลชั้นในแข็ง เมื่ออ่อนสีเขียว
สุกเป็นสีเหลืองใส เมล็ดเดี่ยว แข็ง กลม
ส่วนที่ใช้
: กิ่งสด เปลือก เปลือกต้น เมล็ด ราก ใบ
สรรพคุณ :
กิ่งสด -
ทำให้ฟันทน ไม่ปวดฟัน ฟันแข็งแรง ไม่ผุ
เปลือก -
แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไข้ ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
เปลือกต้น -
แก้ริดสีดวงจมูก
เมล็ด -
ฆ่าเชื้อในช่องปาก และทางเดินอาหารเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้
รากเปลือก –
เป็นยาบำรุงหัวใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น